วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญในสมัยสุโขทัย


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
พระราชประวัติ 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (บางกลางหาว)   กับนางเสือง มีพระนามเดิมว่า  พระราม  เมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไปในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้เป็น   พระรามคำแหง "
ในช่วงรัชสมัยพ่อขุนบางเมือง ซึ่งเป็นพระเชษฐา พระรามคำแหงทรงเป็นกำลังสำคัญในการรบปราบปรามเมืองชายแดนหลายแห่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒

                                                                      พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
-  ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางกว่ารัชสมัยใดๆ
-  ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖
-  ทรงส่งเสริมการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก เช่น  ให้งดเว้นการเก็บจกอบหรือภาษีผ่านด่าน
-  ทรงบำรุงศาสนา เช่น ให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเป็นพระสังฆราช
และริเริ่มการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมในวันพระ
-  ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ผู้เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ถวายฎีกาได้ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก  
จากพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป เป็นต้น
-  ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐใกล้เคียง ได้แก่ ทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา
พญางำเมือง แห่งแคว้นพะเยา ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าฟ้ารั่ว แห่งอาณาจักรมอญและทรงเป็นรัฐบรรณาการกับจีน             
------------------------------------------ 

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) 

พระราชประวัติ 
              พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา ๑  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง  ครองราชย์  พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์  หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี  ได้แก่  วรรณกรรมเรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง  วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม 

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
   - การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ   เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว     บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป                     
    - พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้                      
    - ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก
    - ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น   ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย  ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่   พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท      มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา  คือ  พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์  พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี  พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

                                                                       จาก   http://personinhistory.exteen.com/page-10









การดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย


เครื่องดนตรีไทยมีหลายประเภท เราควรดูแลรักษาให้ถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้เครื่องดนตรีมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

     ตัวอย่าง การดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย
     
     -เมื่อใช้เสร็จแล้ว ควรเก็บไม้ดีดจะเข้ไว้ในที่เก็บ ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด และจัดวางไว้ในร่มเพื่อป้องกันแสงแดด และอย่าให้ถูกน้ำหรือได้รับความชื้น
     
     -เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้ปลดเชื่อกที่ร้อยผืนระนาดลงมาหนึ่งข้าง เพื่อลดน้ำหนักไม่ให้ตะขอหลุดง่าย และไม่ให้ผืนระนาดหย่อนหรือขาด เก็บไม้ตีระนาดไว้ในราง จัดวางระนาดในที่ที่เหมาะสม
     
     -เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้บิดลูกบิดซอลงเล็กน้อยเพื่อลดสายเลื่อนหย่อนหรือหมอนไว้ตอนบนของหน้ากะโหลกซอ แล้วแขวนเก็บคันชักแนบกันคันทวนซอ จัดวางไว้บนชั้นหรือใส่ตู้ หรือแขวนเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ
     
     -เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้นำไปเก็บในที่เหมาะสม อย่างเป็นระเบียบ ไม่ให้ถูกน้ำ ความชื้น และแสงแดด
การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล
     
เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท เราควรดูแลรักษาให้ถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีวิธีอย่างง่าย ๆ ดังนี้
     1.  เครื่องสาย
          ก่อนหรือหลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบา ๆ บนสายและตัวเครื่อง เพื่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่าง ๆ ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่อง เพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้
     2.  เครื่องเป่าลมไม้          1.  ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช้ผ้านุ่มแตะน้ำมันที่ใช้สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเครื่องให้ทั่ว เพื่อทำให้กระเดืองกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม
          2.  ประเภทเป่าลมผ่านลิ้น มีวิธีการดูแลรักษาคล้ายกับเครื่องเป่าโลหะ (ปิคโคโลและฟลูต) และเพิ่มการทำความสะอาดปากเป่าและลิ้นด้วยการถอดออกมาล้างทำความสะอาด จากนั้นผึ่งลมและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ฝาครอบสวมส่วนบน แล้วจึงเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
     3.  เครื่องเป่าลมทองเหลือง
          ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่น้ำลาย แล้วเป่าลมแรง ๆ เข้าไปตรงปากเป่า เพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ด และใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบบนตัวเครื่องแล้วใช้ผ้านุ่มเช็ดถูให้เกิดความเงางาม และเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อง
     4.  เครื่องดนตรีประเภทลิ่วนิ้ว
          ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย
     5.  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี
          ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องและส่วนที่ใช้ตีให้สะอาดก่อนและหลังการเล่นทุกครั้งและเก็บเครื่องดนตรีใส่กล่องหรือใช้ผ้าคลุมทุกครั้งที่เล่นเสร็จแล้ว