วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสารสนเทศ

1. ข้อมูล(data)หมายถึงอะไร
    ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=396769

2.สารสนเทศ(information)หมายถึงอะไร
   ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
  ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-2.htm

3.การประมวลผล(processing)หมายถึงอะไร
   การกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การคำนาณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจักทำรายงาน เป็นต้น
 ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

4.ข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
   มี 2 ประเภท ได้แก่
1.ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบ ข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยวิธีเซ็คชื่อเข้าเรียน เป็นต้น
2.ข้อมูลทุติภูมิ (secondary data) คือข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ มาใช้งานโดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งสามารถนำเอาไปประมวลผลต่อได้ เป็นต้น
 ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

5.วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
   มี 2 วิธี ได้แก่
1.การประมวลผลแบบเชื่อมตรง เป็นวิธีการนำข้อมูลแต่ละรายการที่ถูกบันทึกเข้ามาประมวลผลทันที นิยมใช้ในงานที่ต้องได้ผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้ทันที หรือในงานที่ข้อมูลจะต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
2.การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาหนึ่ง และได้นำข้อมูลที่ได้รับในช่วงเวลาดังดังกล่าวมาประมวลผลพร้อมกัน
 ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

6.สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร
   1.มีความถูกต้องแม่นยำ
   2.ทันต่อเวลา
   3.มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
   4.มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
   5.สามารถพิสูจน์ได้
 ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

7.ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
   1.) การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล                                                                                   การรวบรวมข้อมูล คือ การเสาะหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมารวมกัน
การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูล หากพบว่าข้อมูลผิดกธจะต้องทำการแก้ไข
   2.) การประมวลข้อมูล เป็นการกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล ได้แก่การรวบรวมเป็นแฟ้ม      ข้อมูล การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม และการทำรายงาน
   3.) การดูแลรักษาข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูล หมายถึง การป้อนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมถึงการบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยเก็ยข้อมูลสำรอง
การทำสำเนาข้อมูล หมายถึง การคัดลอกข้อมูลจากแฟ้มต้นฉบับและบันทึกไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลและสารสนเทศมาเผบแพร่หรือส่งต่อให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ห่างไกล
การปรับปรุงข้อมูล หมายถึง การแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ไม่ล้าหมัย
   ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

8.ระบบสารสนเทศ(Information System : IS) หมายถึงอะไร
   ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและการตรวจสอบข้อมูล การประมวลผล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล
   ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

9.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 5 องค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง  จงอธิบาย
   มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       -ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
       -ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       -ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       -บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       -ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ                            ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/sec03p01.html

10. สารสนเทศมีกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
      สารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์กร ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลงราคาถูกความสามารถในการประมวลผลด้วย  ความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่า การทำงานเป็นกลุ่ม (Workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวน ๒ คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันโดยทั่วไป บุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือการเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวมระบบในลักษณะ นี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนก หนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหาร งานในระดับผู้ปฏิบัติการและสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วยเนื่องจากสามารถ ให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุปหรือใน แบบฟอร์มที่ต้องการได้บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อ  ประกอบการตัดสินใจ ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า
  ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__12.html

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญในสมัยสุโขทัย


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
พระราชประวัติ 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (บางกลางหาว)   กับนางเสือง มีพระนามเดิมว่า  พระราม  เมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไปในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้เป็น   พระรามคำแหง "
ในช่วงรัชสมัยพ่อขุนบางเมือง ซึ่งเป็นพระเชษฐา พระรามคำแหงทรงเป็นกำลังสำคัญในการรบปราบปรามเมืองชายแดนหลายแห่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒

                                                                      พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
-  ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางกว่ารัชสมัยใดๆ
-  ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖
-  ทรงส่งเสริมการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก เช่น  ให้งดเว้นการเก็บจกอบหรือภาษีผ่านด่าน
-  ทรงบำรุงศาสนา เช่น ให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเป็นพระสังฆราช
และริเริ่มการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมในวันพระ
-  ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ผู้เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ถวายฎีกาได้ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก  
จากพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป เป็นต้น
-  ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐใกล้เคียง ได้แก่ ทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา
พญางำเมือง แห่งแคว้นพะเยา ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าฟ้ารั่ว แห่งอาณาจักรมอญและทรงเป็นรัฐบรรณาการกับจีน             
------------------------------------------ 

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) 

พระราชประวัติ 
              พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา ๑  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง  ครองราชย์  พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์  หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี  ได้แก่  วรรณกรรมเรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง  วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม 

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
   - การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ   เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว     บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป                     
    - พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้                      
    - ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก
    - ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น   ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย  ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่   พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท      มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา  คือ  พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์  พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี  พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

                                                                       จาก   http://personinhistory.exteen.com/page-10